เวลาอยาก “จำ” ทำไมชอบ “ลืม”
การหลงลืมเรื่องเล็กน้อย เช่น ลืมว่าวางกุญแจไว้ที่ไหน ลืมชื่อคน คุณอาจจําชื่อหนังสือเล่มล่าสุดที่อ่านไปแล้วไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่าเมื่อเช้านี้กินยาแล้วหรือยัง ตัวการสําคัญคืออายุที่เพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น วิธีเก็บข้อมูลของสมองมีการเปลี่ยนแปลงไป ทําให้เกิดปัญหาในการจํา นอกจากนี้ปัญหาทางกาย เช่น ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ก็ส่งผลต่อความจําได้เช่นเดียวกัน รวมทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันเลือดสูง และยา รักษาอาการวิตกกังวล โรคอัลไซเมอร์ก็ทําให้มีปัญหาเรื่องความจําเช่นกัน แต่อาการจะร้ายแรงกว่าความจําเสื่อมทั่วไป
8 ตัวช่วย ลดอาการหลงๆลืมๆ
สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ในการที่บางครั้งจำอะไรไม่ค่อยได้ ไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติเสมอไป เนื่องจากว่า ในชีวิตประจำวันของเรานั้น จะต้องทำงานหลากหลายอย่างพร้อมกันอยู่บ่อย ๆ หรือแม้กระทั่ง ในตอนที่เรานั่งพักผ่อนเล่นมือถือ หรือเล่นคอมเอง เราก็มักจะเปลี่ยนเรื่อง เปลี่ยนหน้าต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการที่เหมือนกับเป็นโรคสมาธิสั้น วันนี้ ป่วยให้น้อย.com ก็มีเทคนิคดี ๆ หลายวิธี ที่ช่วยให้ความจําของคุณดีขึ้นได้ และมีความคิดแจ่มชัดไปอีกหลายปี จะมีอะไรบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
#1 ใช้กลิ่นช่วย
เชื่อว่าการสูดดมน้ํามันหอมสกัดจากโรสแมรี (rosemary) หรือเบซิล (basil) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมองได้ มีการทดสอบคลื่นสมองแล้วพบว่าการสูดดมน้ํามันหอมกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งที่กล่าวมานี้ช่วยให้สมองผลิตคลื่นเบต้ามากขึ้น ซึ่งหมายถึงการรับรู้ที่ชัดเจนกว่าเดิมด้วย เพียงแค่แตะน้ํามันหอมบนเส้นผม ข้อมือ หรือเสื้อผ้าของคุณ หรือเหยาะน้ํามันเล็กน้อย ในเครื่องทําไอน้ําเพื่อให้กลิ่นลอยอวลในห้อง
#2 จิบกาแฟสักนิด ก็ช่วยได้นะ
เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนจะช่วยเสริมสมาธิระยะสั้นและอาจให้ประโยชน์ ระยะยาวด้วย นักวิจัยที่คณะแพทยศาสตร์ในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส พบว่าผู้สูงอายุที่ดื่มกาแฟวันละ 3-4 ถ้วย มีแนวโน้มสูญเสียความจําน้อยกว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 1 ถ้วยหรือน้อยกว่า
#3 เพิ่มออกซิเจนในสมองสักหน่อย
กินแปะก๊วยสกัดวันละ 120 มก. แปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่สมอง เซลล์สมองจึงได้รับออกซิเจนไปใช้ในการทํางานอย่างเต็มที่ และป้องกันภาวะหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ ถ้าคุณมีสุขภาพสมบูรณ์ อาจไม่เห็นประโยชน์ของแปะก๊วยชัดเจน แต่ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ สมุนไพรนี้อาจช่วยได้
อีกวิธีที่จะให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นคือเคลื่อนไหวอยู่เสมอ มีหลักฐานระบุว่าการออกกําลังกายอาจช่วยเพิ่มจํานวนเซลล์ประสาทในสมองด้วย การ ออกกําลังกายเป็นประจําโดยเฉพาะการเดินและปั่นจักรยานดีต่อสุขภาพ และยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งมีส่วนทําให้ความจําเสื่อมลง เช่น เบาหวาน หลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ ความดันเลือดสูง
#4 รักษาระดับน้ําตาลในเลือด
การวิจัยใหม่ๆ ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการที่ร่างกายไม่ดูดซึมกลูโคสกับการสูญเสียความจําเนื่องจากอายุ ซึ่งอาหารที่ถูกย่อยจนกลายเป็นกลูโคสนั้นเป็นแหล่งพลังงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายรวมทั้งสมอง แต่คนจํานวนมากโดยเฉพาะผู้ที่เลยวัยหนุ่มสาวจะมีปัญหากับการลําเลียงกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ มีการวิจัยพบว่าการที่ร่างกายไม่ดูดซึม กลูโคส (ซึ่งไม่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน) อาจทําให้ความจําระยะสั้นลดลงในวัยกลางคนขึ้นไป
- ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการกินอาหารมื้อขนาดพอประมาณ โดยเน้นธัญพืชเส้นใยสูงและผักมากกว่าอาหารประเภทแป้งขัดขาว เน้นไขมันดี เช่น น้ํามันพืช ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช อะโวคาโด และปลา ซึ่งช่วยรักษาระดับน้ําตาลในเลือดได้โดยไม่อุดตันหลอดเลือด รวมถึงควรออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อป้องกันปัญหาน้ําตาลในเลือดอีกทางหนึ่งด้วย
#5 กินอย่างฉลาด
- สมองคนเราประกอบด้วยน้ําถึง 85% คุณควรดื่มน้ําให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ภาวะขาดน้ําจะทําให้ร่างกายอ่อนเพลียซึ่งส่งผลต่อความจําได้
- กินวิตามินบีให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งได้แก่ วิตามินบี6 ปี12 ไนอะซิน และไทอะมิน วิตามินเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อสมอง และยังช่วยให้ร่างกายแปลงอาหารมาเป็นพลังความคิดความจําด้วย อาหารที่มีวิตามินบี6 สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ นม กล้วยหอม ถั่วเปลือกแข็ง ฯลฯ
- เมื่อเพิ่มของดีแล้ว ก็อย่าลืมลดของที่มีไขมันอิ่มตัวสูงด้วย เพราะนอกจาก จะทําให้หลอดเลือดหัวใจอุดตันแล้ว ยังทําให้หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองอุดตัน และสมองขาดออกซิเจนด้วย สิ่งที่อันตรายพอ ๆ กับไขมันอิ่มตัวก็คือ พวกกรดไขมันแปรสภาพ ซึ่งมีในมาร์การีน และอาหารอบสําเร็จรูป เช่น บิสกิต เค้ก และของกินเล่นอื่นๆ
- กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ปลาที่มีไขมัน เช่น แซลมอน แม็กเคอเรล เฮร์ริง และทูน่าสด มีกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งช่วยทําให้เลือดไม่จับตัวเป็นก้อนลิ่มจนไปอุดหลอดเลือดหัวใจ จึงดีต่อสมองของคุณเช่นกัน
#6 เสริมวิตามิน
- กินวิตามินรวมทุกวัน โดยต้องมีกรดโฟลิกและวิตามินบี12 ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน พราะอาหารประจําวันไม่สามารถให้วิตามินเหล่านี้ได้เพียงพอ และการขาดสารอาหารเหล่านี้อาจทําให้ความจําเสื่อมได้
#7 เพิ่มสมาธิและความจำด้วยเสียงเพลง
- ลองฟังดนตรีบ่อยๆ หลายๆ แนว นักวิจัยพบว่าการฟังดนตรีทําให้สมาธิคุณดีขึ้น และช่วยให้คุณจําสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป ดนตรีบางประเภททําให้เซลล์ประสาทในสมองมีปฏิกิริยาเร็วขึ้น จังหวะยิ่งเร็ว สมองยิ่งตอบสนองมาก
#8 ควบคุมความเครียดให้ได้
หาวิธีลดความเครียด คนที่ตึงเครียดจะมีระดับฮอร์โมนความเครียดในตัวสูง พอนานไปฮอร์โมนเหล่านี้อาจส่งผลต่อสมองส่วนที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมความจํา
Warning ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเหล่านี้
ถ้ารู้สึกว่าความจําคุณแย่ลงไปมากในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยคุณจําสิ่งที่เคยทําบ่อย ๆ ไม่ได้ หรือจําไม่ได้ว่าจะไปยังที่ที่คุ้นเคยได้อย่างไร ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน