สาเหตุและอาการของโรคลำไส้อักเสบ
โรคลําไส้อักเสบเป็นคํารวมที่ใช้เรียกภาวะลําไส้อักเสบจากโรคต่าง ๆ หลายโรค กรณีที่พบบ่อยคือ แผลอักเสบในลําไส้ใหญ่ และโรคโครห์นส์ โรคแผลอักเสบในลําไส้ใหญ่ คือภาวะที่เยื่อบุลําไส้ใหญ่และลําไส้ตรงเป็นแผล ส่วนโรคโครห์นส์จะรุนแรงกว่าเพราะทําให้เกิดแผลในปากลําไส้ กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร นอกจากนี้แผลยังอักเสบลึกกว่า ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกันคือ ปวดท้อง และถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด อาการมักกําเริบเป็นระยะ บางครั้งโรคอาจสงบนานหลายปี
แพทย์ส่วนใหญ่มักจะรักษาโรคลําไส้อักเสบด้วยยานานาชนิด ซึ่งมักได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะเมื่ออาการกําเริบ แต่นอกเหนือจากการใช้ยา ยังมีวิธีที่คุณสามารถทําได้ด้วยตนเอง เพื่อบรรเทาความรุนแรงของโรค เช่น กินอาหารที่ย่อยง่าย กินวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพร และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด
6 เคล็ดลับดูแลร่างกายสู้ลำไส้อักเสบ
โรคลำไส้อักเสบ เป็นโรคที่ปัจจุบันมีคนเป็นกันเยอะขึ้นมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะอาหารการกิน ที่บางครั้งก็ไปเจอพวกหมูหรือไก่ที่เริ่มจะบูดจากแม่ค้าริมทางบ้าง กินอาหารมากเกินไปจากมื้อบุฟเฟ่หลังเลิกงานบ้าง วันนี้ ป่วยให้น้อย.com ก็นำเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลร่างกาย ทั้งในเวลาที่เป็นโรคลำไส้อักเสบแล้ว และการป้องกันโรคลำไส้อักเสบมาฝากกันด้วย จะมีวิธีไหนน่าสนใจบ้างนั้น ตามไปดูกันได้เลย
#1 เพิ่มแบคทีเรียมีประโยชน์
ในลําไส้ของคนที่สุขภาพแข็งแรงดีจะมีแบคทีเรียมีประโยชน์อาศัยอยู่ เช่น แล็กโตบาซิลลัส อะซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) และบิฟิโด แบคทีเรีย บิฟิดัม (Bifidobacteria bifidum) แบคทีเรียมีประโยชน์จะคอยสกัดกั้นไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคเติบโต แต่หากมีภาวะที่แบคทีเรียมีประโยชน์ ถูกทําลาย เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ จะทําให้แบคทีเรียก่อโรคหรือเชื้อยีสต์ เติบโตขึ้นแทน จึงเกิดภาวะลําไส้อักเสบ การกินโปรไบโอติก (probiotic) หรือเชื้อแบคทีเรียชนิดแคปซูลจะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลําไส้ ให้กลับเป็นปกติ โดยกินครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้งขณะท้องว่าง ถ้า คุณไม่ชอบกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็อาจกินโยเกิร์ตชีวภาพ (bio-yoghurt) วันละ 2-3 ถ้วยแทนก็ได้
#2 ระวังเรื่องอาหาร
- กินอาหารรสจืด เช่น แครอตต้ม ข้าวสวย หรือข้าวต้ม ถ้าโรคลําไส้อักเสบทําให้คุณมีอาการท้องเสียหรือปวดท้อง ก็ไม่ควรกินอาหารรสจัด เพราะอาจทําให้อาการแย่ลง
- ลดอาหารไขมัน อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารไขมันชนิดต่างๆ อาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ลําไส้บีบตัว และเกิดท้องเสียรุนแรงขึ้น
- ลดใยอาหาร ในยามปกติอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดขาว จมูกข้าง และบร็อคโคลี่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร แต่ขณะที่อาการลําไส้อักเสบกําเริบ ใยอาหารจะทําให้ปวดท้องจากการมีแก๊สเพิ่มขึ้น คุณสามารถกินใยอาหารตามปกติได้อีกครั้งเมื่ออาการดีขึ้น
- ผู้ป่วยโรคโครห์นส์ (Crohn’s disease) จํานวนมากร่างกายไม่สามารถ ย่อยน้ําตาลแล็กโตสในผลิตภัณฑ์นมได้ ถ้าคุณมีอาการท้องอืดและแน่นท้อง เพราะมีแก๊สในกระเพาะและลําไส้ ควรงดนมและผลิตภัณฑ์นม 2-3 วัน ถ้าอาการดีขึ้นแสดงร่างกายคุณไม่ย่อยน้ําตาลแล็กโตส ซึ่งอาจแก้ปัญหาโดยเลือกกินผลิตภัณฑ์นมชนิดไม่มีแล็กโตส หรือกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นเล็กเตสชนิดเม็ด (แล็กเตสคือน้ําย่อยสําหรับย่อยน้ําตาลแล็กโตสในนม) หรือเลิกกินนมและผลิตภัณฑ์จากนมไปเลย
- กินวิตามินหรือแร่ธาตุเสริมเป็นประจํา เพื่อชดเชยสารอาหารที่ร่างกายได้รับน้อยลงขณะท้องเสีย
Tips: รู้หรือไม่ ?
มีความเชื่อที่ว่า ผู้เป็นโรคลําไส้อักเสบ ควรกินหัวหอม แล้วจะช่วยได้ ? ตามจริงแล้ว หัวหอมมีเควอร์ซิตินซึ่งเป็นสารต้านอักเสบธรรมชาติ จึงบรรเทาอาการลําไส้อักเสบจากการแพ้อาหารได้ คุณ อาจใส่หัวหอมลงไปต้มในซุป หรือแกงจืด จะได้เควอร์ซิติน แต่ควรปอกเปลือกออกก่อน หากไม่ชอบกินหัวหอม อาจกินเควอร์ซิตินชนิดเม็ดซึ่งหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไป โดยปฏิบัติตามคําแนะนําบนฉลากอย่างเคร่งครัด
#3 บันทึกการกิน
จดบันทึกอาหารทุกชนิดที่คุณกินเข้าไปตลอดวัน (รวมถึงขนม) และ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งความรุนแรงของอาการด้วย เมื่อครบ 1 เดือน ให้ทบทวนดูบันทึกทั้งหมด คุณจะทราบว่าอาหารชนิดใดบ้างที่กระตุ้นให้เกิด ราการ และไม่ควรกินอาหารชนิดใดพร้อมกัน
#4 คลายเครียด
ความเครียดสามารถกระตุ้นให้อาการของโรคลําไส้อักเสบกําเริบได้ หากรู้ตัวว่าต้องผจญความเครียดบ่อยๆ ควรฝึกวิธีคลายเครียดเป็นประจํา เทคนิคคลายเครียดมีหลากหลายวิธีให้เลือก เช่น โยคะ ฝึกสมาธิ ฝึกการหายใจลึก หรือแม้กระทั่งการนั่งปล่อยใจนั่งฟังเพลงโปรด ทิ้งเรื่องราวเครียด ๆ ระหว่างวัน หรือทิ้งปัญหาที่ต้องเผชิญทิ้งไปสักช่วงหนึ่ง ก็จะช่วยให้ความเครียดคลายลง และยังลดการกระตุ้นอาการของโรคลำไส้อักเสบได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
#5 สมุนไพรและวิตามินบรรเทาลำไส้อักเสบ

cr: lazada
- การแพทย์พื้นบ้านแนะนําให้ดื่มน้ําคั้นกระหล่ําปลีเพื่อรักษาลําไส้อักเสบ เพราะมีกรดอะมิโน แอล-กลูตามีนอยู่มาก หากรสชาติไม่ถูกปาก คุณอาจกินแอล-กลูตามีนชนิดเม็ดวันละ 500 มก. เพื่อรักษาแผลในทางเดินอาหาร
- ชะเอมเทศมีสรรพคุณต้านอักเสบจึงสามารถบรรเทาอาการลําไส้อักเสบ แต่คุณควรเลือกใช้แบบดีจีแอล (deglycyrrhizinated liquorice: DCL) ซึ่งสกัดสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อความดันเลือดออกไปแล้ว เมื่ออาการกําเริบอาจเคี้ยวแผ่นดีจีแอลขนาด 380 มก. 2 แผ่น วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร ไม่ควรกินชะเอมเทศชนิดลูกอม เพราะส่วนมากไม่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่เลย ส่วนชะเอมเทศแบบธรรมดาก็มีสารออกฤทธิ์ที่ทําให้ความดันเลือดสูงขึ้น
#6 บรรเทาด้วยน้ํามันจากปลาและพืช
กรดไขมันโอเมกา-3 ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทํางานปกติ พบมากในน้ำมันปอ (flaxseed oil) โดยกินวันละ 1 ช้อนโต๊ะ อาจกินโดยตรง หรือผสมกับอาหารก็ได้ และน้ํามันปลา (กินวันละ 2 ช้อนชา จะได้รับโอเมกา-3 จํานวน 2 กรัม) มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในอิตาลีพบว่า น้ํามันปลาช่วยให้ผู้ป่วยโรคโครห์นส์มีอาการกําเริบน้อยลง (ระวัง ห้ามกินน้ํามันปลาเด็ดขาดหากคุณกําลังกินยาป้องกันเลือดแข็งตัวหรือยาละลายลิ่มเลือด)
Warning เมื่อไรที่คุณควรไปพบแพทย์
ผู้ป่วยโรคลําไส้อักเสบควรพบแพทย์เมื่อมีอาการกําเริบ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด หรืออุจจาระสีดํา นอกจากนี้ ถ้าท้องอืดมาก ปวดท้องมาก หรือปวดท้องร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ควรรีบพบแพทย์เช่นกัน