เครื่องตรวจน้ำตาลยุคใหม่ ที่จะช่วยให้คุณควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น
เครื่องตรวจน้ำตาลรุ่นใหม่นี้ มีชื่อเรียกว่า Continuous Glucose Monitoring หรือ cgm โดยจะเป็นเครื่องตรวจน้ำตาลแบบแปะไว้ที่ผิวหนัง โดยตัวเครื่องจะมีเข็มเล็กๆ เจาะเข้าไปที่ตรงบริเวณผิวหนังด้านนอก และส่งค่าน้ำตาลในเลือด เข้าไปที่ Application ในมือถือ ทุกๆ 15 นาที
เครื่องตรวจน้ำตาลแบบ Continuous Glucose Monitoring หรือ “cgm” ดียังไง
- ไม่ต้องเจาะปลายนิ้วทุกเช้า
- ตัวเครื่องตรวจน้ำตาลจะแสดงค่าน้ำตาลทุก 15 นาที ทำให้เราทราบค่าระดับน้ำตาลในเลือดทั้งวัน ทำให้รู้ได้ง่ายว่า เมื่อกินอาหารอะไรแล้วทำให้น้ำตาลสูง
ทำไมต้องเป็น “CGM”
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลเป็นไปอย่างได้ผล นั่นก็คือ “ความรู้ทางด้านโภชนาการ” แล้วความรู้ทางด้านโภชนาการนี่เอง ที่เป็นปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุมาโดยตลอด เนื่องจากว่า ความรู้ทั้งหลายที่ได้รับมักจะขัดแย้งกันอยู่ตลอด บางก็บอกว่ากินผลไม้ไม่ได้ บางก็บอกว่ากินเนื้อสัตว์ไม่ได้ คนที่เป็นเบาหวานเองก็เลยไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไร หรือเปลี่ยนวิธีกินอย่างไร
เครื่องตรวจน้ำตาล Continuous Glucose Monitoring หรือ cgm จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยที่ การทำงานของตัวเครื่องจะส่งผลแสดงน้ำตาลในเลือดทุกๆ 15 นาทีให้เราได้รู้ผ่านทาง Application ดังนั้นเมื่อเราเพียงแค่จดว่าเรากินอะไรไปบ้างในแต่ละวัน และเมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เราทราบได้ทันทีว่า อาหารชนิดไหนควรกินหรืออาหารชนิดไหนไม่ควรที่จะกิน
ทางฝั่งยุโรป เริ่มนิยมใช้ CGM กันมาตั้งแต่ปี 2015
ปัจจุบันทางฝั่งยุโรป นิยมที่จะใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบฝังกันมากขึ้น โดยได้มีการจดบันทึกรายการอาหารและระดับน้ำตาลในแต่ละวันเอาไว้ เพื่อที่จะทำเป็นคู่มือส่วนตัว ว่าอาหารในแต่ละมื้อที่ทานนั้นมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยเพียงใด และเมื่อเข้าใจในเรื่องนี้ด้วยตัวเองแล้ว ก็มักจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้น้ำตาลสูงได้อย่างง่าย และข้อมูลที่ได้รับ ก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้องจริงๆ เพราะเกิดจากการทดสอบด้วยตัวเองนั่นเอง
กราฟแสดงระดับน้ำตาลในแต่ละวัน เมื่อทานอาหารแบบโลว์คาร์บ กับการทานอาหารปกติ โดยใช้เครื่อง CGM

Credit: diaTribe.org
จากกราฟด้านบน ภาพทางซ้ายมือ เป็นค่าน้ำตาลในเลือด เมื่อทานอาหารแบบโลว์คาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรตต่ำ และส่วนภาพขวามือ เป็นกราฟแสดงระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อทานอาหารแบบปกติทั่วไป จะเห็นได้ว่า แม้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลทั้ง 2 อย่าง จะอยู่ใกล้เคียงกันก็ตาม แต่ว่า การทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะให้ค่าน้ำตาลที่ไม่มีการพุ่งขึ้นสูง และลดลงกระทันหัน เหมือนกับการทานแบบทั่วไป
หรือพูดในเชิงสรุปก็คือ การทานอาหารที่แป้งน้อย ๆ นั้น จะไม่ทำให้คนเป็นเบาหวานเกิดอาการ “น้ำตาลตก” ซึ่งคนเป็นเบาหวานจะทราบดีว่า หลังทานอาหารซัก 2-3 ชั่วโมง บางครั้งจะมีอาการหวิว ๆ ใจสั่น หรือว่าหิว นั่นก็เพราะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงแบบกระทันหันนั่นเอง
>> ข้อเสียของเครื่องตรวจน้ำตาล CGM
ข้อเสียอย่างเดียว ของเครื่องตรวจน้ำตาลแบบ Continuous Glucose Monitoring ก็คือในเรื่องของราคา โดยตัวเครื่อง จะมีราคาประมาณ 4000 ถึง 5,000 บาท และจะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ตัวเซ็นเซอร์ที่ปิดแขน ทุกๆ 7-10 วัน โดยมีค่าเซ็นเซอร์อยู่ที่ประมาณ 2,000 ถึง 2,500 บาท แต่ว่าถ้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากแล้วนั้น ก็ถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่บอกว่า ถ้าเรารู้ว่ากินอะไรแล้วน้ำตาลขึ้น เราก็จะได้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นได้เลย