“หอบหืด” เป็นโรคที่เราดูแลมันได้
อาการหอบหืดกําเริบเป็นภาวะที่น่าตกใจ ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก หายใจลําบาก และมีเสียงหวีด ต้องแก้ไขทันทีโดยการพ่นยาขยายหลอดลม หากวิธีนี้ได้ผลดีก็ไม่ควรหยุดยาเอง ผู้ที่ได้รับยาป้องกันหอบหืดชนิดพ่นควรใช้เป็นประจําตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันอาการกําเริบ โรคหอบหืดเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่มีหลายวิธีที่ช่วยบรรเทาหรือป้องกันอาการได้ การเปลี่ยนวิถีชีวิตก็ช่วยรักษาโรคหอบหืดได้เช่นกัน
อาการและสาเหตุของโรคหอบหืด
โรคหอบหืดมักกําเริบเมื่อปอดสัมผัสกับสิ่งระคายเคือง เช่น ควัน อากาศเย็นหรือแห้ง ละอองเกสร เชื้อรา หรือไรฝุ่น ปัจจัยอื่นที่อาจเป็นสาเหตุคือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของฮอร์โมน ความเครียด และความโกรธ บางครั้งอาจไม่พบสาเหตุชัดเจน อาการหายใจขัดเกิดจากหลอดลมฝอยในปอดหดเกร็งตัวจนตีบแคบทําให้ เกิดอาการไอและแน่นหน้าอก ภาวะหลอดลมหดเกร็งจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารฮิสตามีนและสารเคมี อื่น ๆ ทําให้เกิดการอักเสบ และมีเสมหะในหลอดลม
เมื่อหอบหืดกำเริบ ต้องทำอย่างไรบ้าง
- เมื่ออาการกําเริบ ควรพยายามตั้งสติและสงบใจ การตกใจกลัวอาจทําให้อาการแย่ลง การสร้างจินตภาพจะช่วยบรรเทาอาการได้ หลับตาลง และหายใจเข้าพร้อมกับนึกภาพปอดของคุณกําลังขยายออกและมีแสงสีขาวส่องเข้ามาในปอด วิธีนี้ช่วยให้หายใจสบายขึ้น ทําซ้ํา 2-3 ครั้งแล้วจึงลืมตา
- กรณีฉุกเฉินให้ดื่มกาแฟแก่ๆ 1 แก้ว หรือเครื่องดื่มโคล่าขนาด 330 มล. 2 กระป๋อง หรือเครื่องดื่มบํารุงกําลังที่มีคาเฟอีนอยู่มาก เช่น กระทิงแดง หรือลิโพวิถัน 1 ขวด คาเฟอีนมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายตัวยาทีโอฟิลลีน (theophyline) ซึ่งเป็นยารักษาโรคหืด จึงมีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้
4 แนวทางหลัก ในการบรรเทาและควบคุมอาการหอบหืดให้ได้ผล
#1. ลดการอักเสบในหลอดลมก่อน
- กรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งพบมากในเนื้อปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาทูน่า แซลมอน และแม็กเคอเรล มีสรรพคุณเหมือนกับยารักษาโรคหอบหืดกลุ่ม ยับยั้งลิวโคไตรอีน (leukotriene inhibitor) ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบในหลอดลม คุณอาจกินน้ํามันปลาชนิดแคปซูลละ 1,000 มก. วันละ 6 เม็ด โดยแบ่งกิน 2-3 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่กินยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจํา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินแคปซูลน้ํามันปลา
- น้ํามันอีฟนิ่งพริมโรส (evening primrose oil) ประกอบด้วยกรดแกมมาลิโนเลนิกหรือจีแอลเอ (gamma-linolenic: GLA) ซึ่งเป็นกรดไขมันจําเป็นที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในร่างกาย กินครั้งละ 1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง หากกินพร้อมอาหารจะดูดซึมดีขึ้น
- ไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoid) เป็นรงควัตถุที่ทําให้ผักและผลไม้ มีสีสันสดใส นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณต้านการอักเสบและป้องกันภูมิแพ้ด้วย เควอร์ซิติน (quercetin) เป็นสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ที่รู้จักกันดีและมีฤทธิ์ต้านอักเสบ วิธีใช้คือ กินครั้งละ 500 มก. วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร 20 นาที
- ขมิ้นชัน เครื่องเทศสีเหลืองรสชาติเผ็ดร้อนที่เรารู้จักมานานประกอบด้วย สารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารค็อกซ์-2 พรอสตาแกลนดิน (COX-2 prostaglandin) ซึ่งเป็นสารคล้ายฮอร์โมนที่ทําให้เกิดการอักเสบในร่างกาย วิธีใช้คือ นําผงขมิ้นชัน 1 ช้อนชาผสมกับนมอุ่น 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง แต่ถ้าคุณทนรสชาตินมผสมขมิ้นชันไม่ได้ อาจกินในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งมีทั้งชนิดแคปซูลและชนิดน้ํา
#2. สังเกตและจดบันทึก
- จดบันทึกอาหารทุกชนิดที่คุณกินในรอบหนึ่งเดือน และบันทึกวันเวลาที่โรคหอบหืดอาการกําเริบ แม้ว่าการแพ้อาหารอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของโรคหอบหืด แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกัน ควรตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้อย่างละเอียด เพื่อพิจารณาว่าอาหารชนิดใดบ้างที่ทําให้โรคหอบหืดกําเริบบ่อยขึ้นหรือรุนแรงขึ้น
- ผู้ที่จําเป็นต้องใช้ยารักษาโรคหอบหืด ควรมีเครื่องวัดอัตราเร็วของลมหายใจ (peak flow meter) ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือร้านขายยา อปกรณ์นี้ใช้วัดอัตราเร็วของอากาศที่หายใจออกจากปอด ซึ่งจะช่วยบอก ประสิทธิภาพการหายใจของคุณ การใช้เครื่องวัดแต่ละครั้งจึงบอกถึงประสิทธิภาพของยาและการรักษาในขณะนั้น หรืออาจวัดขณะที่โรคหอบหืดกําเริบ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและความจําเป็นในการพบแพทย์
#3. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้หอบหืดกำเริบ
- เลิกสูบบุหรี่ และอย่าอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินหายใจ
- อย่าอยู่ใกล้กองไฟ หรือเตาถ่าน
- ใช้ผ้าพันคอปิดปากและจมูกอยู่เสมอในขณะอากาศหนาว เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับอากาศที่หายใจเข้า
- ระวังและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด เช่น อาหารที่มีกลิ่น ควรเปิดหน้าต่าง อากาศขณะปรุงอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น อาหารที่ใช้กระเทียมหรือหอมใหญ่
- กินอาหารครั้งละน้อย แต่วันละหลายๆ มื้อแทน และงดอาหารเมื่อใกล้เวลานอน เพื่อป้องกันภาวะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ เนื่องจากภาวะนี้มักเป็นสาเหตุหนึ่งที่กระตุ้นให้โรคหอบหืดกําเริบ
- ผู้ป่วยโรคหอบหืดประมาณ 5% แพ้ยาแก้อักเสบกลุ่มไม่ใช่สเตียรอยด์หรือ NSAID (nonsteroidal anti-inflammatory drug) เช่น แอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน หากได้รับยาดังกล่าวอาจทําให้โรคหอบหืดกําเริบ ผู้ที่แพ้ยา ควรใช้ยาบรรเทาปวดที่ไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน เช่น พาราเซตามอล
- ลองใช้วิธีบูเทโก (Buteyko) บูเทโกเป็นการบําบัดทางเลือกวิธีหนึ่งที่ใช้ สําหรับควบคุมอาการโรคหอบหืดและโรคที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ โดยมีความเชื่อว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการหายใจนั้น มีสาเหตุจากการหายใจผิดวิธี คือหายใจตื้นเกินไป และถี่เกินไป ซึ่งการหายใจลักษณะนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทําให้เกิดความเจ็บป่วย วิธีการรักษาตามแนวทางบูเทโกจึงเน้นการฝึกหายใจให้ถูกหลัก
#4. ฝึกหายใจด้วยท้อง
- การฝึกหายใจวิธีนี้ช่วยลดความรุนแรงของโรคหอบหืดและลดการกําเริบได้ดี เมื่อโรคหอบหืดกําเริบ คุณมักวิตกกังวลและกระวนกระวายใจ และยังทําให้หายใจลําบากขึ้น นอกจากนี้ความกังวลยังมีผลให้หลอดลมหดตัวมากขึ้น เมื่อฝึกการหายใจวิธีนี้จะช่วยให้คุณควบคุมสติได้มากขึ้น และช่วยให้หายใจสบายขึ้นด้วย
- นอนหงายบนพื้นราบหรือพรม แล้ววางหนังสือเล่มหนึ่งไว้บนท้อง
- หายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ โดยไม่ต้องขยับหน้าอก แต่ให้ท้องป่องออกแทน จ้องมองที่หนังสือ หากมันขยับขึ้นแสดงว่าคุณหายใจถูกต้องแล้ว
- เมื่อหายใจเข้าลึกสุดแล้ว ลองหายใจเข้าเพิ่มอีกเล็กน้อย คุณจะสังเกตเห็นหนังสือขยับสูงขึ้นอีกเล็กน้อยเช่นกัน
- หายใจออกช้าๆ พร้อมนับ 1-5 ยิ่งคุณหายใจออกได้นาน จะยิ่งรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- ทําซ้ําอย่างน้อย 5 ครั้ง
Warning เมื่อไรที่คุณควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีอาการหอบหืดครั้งแรก ควรพบแพทย์ หากมีอาการรุนแรง เช่น เหนื่อยหอบจนพูดไม่ไหว ใบหน้าหรือ ริมฝีปากเขียวคล้ํา หายใจขัด จนมึนงงหรือหมดแรง ควรรีบขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นพาส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที ผู้ที่เป็นหอบหืดและรักษากับแพทย์อยู่แล้วมักได้รับยาพ่นไว้ใช้เมื่ออาการกําเริบ หากต้องใช้ยาบ่อยขึ้นเพื่อควบคุมอาการ หรือใช้ยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน