สะอึก เกิดขึ้นได้ยังไง
น่าแปลกตรงที่ว่าอาการสะอึกเป็นเรื่องที่แสนจะธรรมดาแต่ไม่มีใครรู้ว่ามันเกิดจากอะไร เราทุกคนก็สะอึกได้ทั้งนั้น แม้แต่ทารกในครรภ์ก็เช่นกัน อาจมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นกระบังลมให้หดตัวกะทันหันจนเกิดอาการกระตุก และปล่อยเสียงสะอีกออกมา อาหารบางชนิดทําให้สะอีก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกลืนอากาศมากไป เช่น เมื่อคุณดื่มเครื่องดื่มมีฟองอีกใหญ่ หรือเมื่อคุณตื่นเต้น ก็เป็นสาเหตุของการสะอึกได้ เช่นกัน
รวมสุดยอดวิธีทำให้หายสะอึก
อาการสะอึกอาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่เหมาะเอาเสียเลย เช่น กําลังน้ําดื่มอวยพรให้เพื่อนสนิทในงานแต่งงาน หรือเมื่อต้องนําเสนอรายงานในที่ประชุม เมื่ออยู่ในที่สาธารณะคุณอาจต้องใช้วิธีอันแยบยลควบคุมอาการสะอึก วิธีรักษามีทั้งการกดเบาๆ หรือดื่มน้ําสักแก้วใหญ่ๆ และถ้าคุณเป็นคนที่มีความอดกลั้นต่ออาการเขินอายสูง หรือพอจะมีที่ให้หลบซ่อนได้ล่ะก็ ยังมีวิธีการแปลกๆ แต่ได้ผล สําหรับคนที่สะอึกบ่อยๆ ลองดูเคล็ดลับที่แนะนําต่อไปนี้ แล้วเลือกทําสิ่งที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณก็แล้วกัน
1. กดจุดหยุดสะอึก
อาจช่วยรักษาอาการสะอึกได้อย่างแนบเนียน วิธีคือ ใช้นิ้วโป้งกดฝ่ามือข้างหนึ่งไว้ ยิ่งแรงยิ่งดี หรือใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งบีบตรงเนินเนื้อที่อยู่ต่อจากนิ้วโป้งของมืออีกข้างหนึ่ง แรงกดบีบนี้จะเบี่ยงเบนระบบประสาทของคุณจากอาการสะอึก
2. สูดหายใจแล้วกลั้นเลย
สูดหายใจเข้าลึกๆ และกลั้นไว้ เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกักไว้ในปอด กระบังลมจะคลายออก การสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วเป่าลูกโป่ง ก็ได้ผลเหมือนกัน
3. อุดหูดูด้วย
ถ้าคุณสามารถแวบออกไปจากห้องหรือที่ชุมนุมสัก 2-3 นาที (เช่น ขอตัวไปเข้าห้องน้ํา) ให้เอานิ้วมืออุดหูประมาณ 20-30 วินาที หรือกดผิวเนื้อนุ่มๆ ด้านหลังติ่งหูบริเวณที่ต่อจากกะโหลกศีรษะ วิธีนี้จะส่งสัญญาณผ่อนคลายผ่านเส้นประสาทวากัส (Vagus nerve) ซึ่งเชื่อมต่อกับบริเวณกระบังลม
4. แลบลิ้นก็ต้องลอง
เวลาที่ไม่มีใครมองอยู่ ลองแลบลิ้นออกมา พวกนักร้องนักแสดงใช้วิธีนี้ เพื่อกระตุ้นช่องว่างระหว่างเส้นเสียง คุณจะหายใจได้ราบรื่นขึ้นและระงับอาการกระตุกที่ทําให้คุณสะอึกได้
5. หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป
เคยเห็นเวลาที่คนตื่นเต้นจนเป็นลมชัก แล้วคุณหมอหยิบเอาถุงกระดาษมาครอบจมูก เพื่อให้หายจากอาการไหมคะ เวลาสะอึกเราก็ทำได้เหมือนกัน โดยใช้มือป้องปากปิดจมูกไว้ แต่ยังคงหายใจต่อไปเรื่อยๆ ตามปกติ วิธีนี้จะช่วยระงับอาการสะอึกได้ เนื่องจากคุณได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปมากขึ้นนั่นเอง
6. กินน้ำเป็นจังหวะ
- จิบน้ําจากแก้วเร็วๆ 9-10 ครั้ง เมื่อคุณกลืนน้ํา การหดเกร็งเป็นจังหวะของหลอดอาหารจะช่วยหยุดอาการกระตุกของกระบังลม
- ถ้าคุณอุดหูเวลาดื่มน้ําก็จะยิ่งดี เอานิ้วมืออุดหูไว้และจิบน้ําจากหลอดดูด ด้วยวิธีนี้เส้นประสาทวากัสจะถูกกดไว้ขณะที่คุณได้ประโยชน์จากการกลืนน้ําอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้กระดาษเช็ดมือปิดปากแก้วที่บรรจุน้ําแล้วดื่ม จะทําให้กระบังลมของคุณต้องออกแรงมากขึ้นเมื่อคุณใช้แรงดูดน้ําผ่านกระดาษ การดูดกลืนน้ําในลักษณะนี้จะช่วยต้านอาการกระตุกของกล้ามเนื้อได้
7. กินน้ำจากขอบแก้วด้านนอก
คนที่ชอบออกไปสังสรรค์ยามค่ำคืนอาจจะรู้จักวิธีนี้กันดี การกินน้ำจากขอบแก้วด้านนอก เหมือนเป็นการเบี่ยงเบนประสาท คล้าย ๆ กับการทำให้ตกใจแล้วจะหายสะอึก วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้ได้ผลดีเป็นอย่างมาก
8. กินของเปรี๊ยวเปรี้ยวก็ได้นะ
- ใช้น้ําตาลหรือน้ําผึ้ง 1 ช้อนชา ผสมน้ําอุ่นเล็กน้อย คนให้ละลาย จากนั้นนํามาป้ายบนโคนลิ้นแล้วกลืนลงไป
- การลิ้มรสอะไรที่เปรี้ยวจี๊ดสามารถทําให้ริมฝีปากหดย่น และหยุดอาการสะอึกได้ ลองฝานมะนาวสักชีกแล้วดูดดู
- กลืนน้ําส้มสายชูหมักจากน้ําแอปเปิล (cider vinegar) สัก 1 ช้อนชา วิธีนี้จัดว่าท้าทายดีทีเดียว แต่ถ้าคุณรับมือกับการจู่โจมปุ่มรับรสนี้ได้ ก็จะหายสะอีกอย่างรวดเร็ว (อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการดูดแตงกวาดอง)
9. ฝึกหายใจไล่สะอึก
- บางครั้งการผ่อนคลายก็ช่วยได้ นอนคว่ําบนเตียงโดยตะแคงศีรษะ และปล่อยแขนห้อยลงด้านข้าง สูดลมหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ 10-15 วินาทีแล้ว หายใจออกช้าๆ ทําซ้ํา 2-3 ครั้งแล้วพักสักครู่ก่อนจะลุกขึ้น
- ถ้าคุณมีคนใกล้ชิดช่วย ลองยืนหันหลังพิงกําแพงและให้เขาวางกําปั้นบริเวณใต้กระดูกอกของคุณ จากนั้นคุณสูดหายใจเข้าออกลึกๆ 2-3 ครั้ง พอครั้งสุดท้ายให้หายใจออกมาเต็มที่ และให้เขากดกําปั้นลงไปอย่างนุ่มนวล แต่หนักแน่นเพื่อไล่ลมออกจากปอดของคุณ
- จุมพิตที่ดูดดื่มและเนิ่นนานก็ได้ผลดี แต่ต้องมั่นใจว่าคุณเลือกคู่จุมพิตได้เหมาะจริงด้วยนะ 555
10. ไอศกรีมก็ช่วยแก้สะอึกได้เหรอ..
ไอศกรีม 1 ลูกทําให้การรักษากลายเป็นความอร่อย ความเย็นของไอศกรีม บวกกับการกลืนที่สม่ําเสมอ และรสชาติอร่อยลิ้น ทําให้กระบังลมเข้าสู่ภาวะปกติได้
การป้องกันเพื่อไม่ให้สะอึก
- หลีกเลี่ยงเบียร์หรือเครื่องดื่มที่มีฟองโดยเฉพาะเครื่องดื่มแช่เย็น ความเย็นและฟองอากาศจะร่วมกันทําให้กระบังลมของคุณปั่นป่วน ซึ่งอาจส่งผลให้คุณสะอึกได้
- กินอาหารช้าๆ การกินเร็วทําให้คุณกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้น ส่งผลให้สะอึกและเรอได้
- ตัวยาบางชนิดเช่น ไดอะซีแพม (diazepam) หรือชื่อการค้าคือแวเลียม Valium) อาจส่งผลให้คุณสะอึกบ่อยขึ้นได้ ถ้าสงสัยว่ายาเป็นต้นเหตุ ลองปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาอื่นทดแทน
- ถ้าลูกน้อยของคุณสะอึก อาจเกิดจากการกลืนอากาศมากเกินไปในขณะที่กินนม ให้ใช้วิธีเดียวกับการทําให้เด็กเรอ นั่นคืออุ้มลูกพาดบ่าและตบหลังเบาๆ เป็นการไล่ลมทําให้หายสะอึก นอกจากนี้ทุกครั้งก่อนให้นมลูก คุณควรตรวจสอบหัวจุกของขวดนมว่าปล่อยให้น้ํานมไหลออกมาได้ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ โดยเมื่อคว่ําขวดลง นมควรจะหยดอย่างสม่ําเสมอก่อนจะหยดช้าลงและหยุดสนิทในที่สุด ถ้าน้ํานมไหลออกมามากหรือน้อยเกินไปจะทําให้สะอึกได้
Warning เมื่อไรที่คุณควรไปพบแพทย์
เชื่อหรือไม่ว่าบางคนสะอึกไม่หยุดเป็นเวลาหลายวัน ถ้าคุณสะอีกนาน ๆ อย่างนี้คงต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท หรืออาการผิดปกติทางลําไส้ (เช่น กล้ามเนื้อลําไส้หดตัวแบบผิดปกติ) คุณอาจมีอาการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารอยู่ก่อน แล้วหรือมีการติดเชื้อ แพทย์อาจสั่งยากล่อมประสาท เช่น คลอร์โปรมาซีน (chlorpromazine) หรือยาฮาโลเพอริดอล (haloperidol) สําหรับอาการสะอึกที่หายยาก ยาเหล่านี้ช่วยคลายกระบังลมได้