“โรคเก๊าท์” โรคที่เกิดเพราะร่างกายมียูริกมากเกินไป
โรคเก๊าท์มักจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัว คุณอาจกําลังเดินเล่นยิ้มแย้มอยู่ แล้วจู่ๆ ก็ปวดสุดแสนทรมาน วูบแรกคุณมักจะนึกถึงยาแก้ปวดอย่างแอสไพริน ซึ่งไม่ควรกินอย่างยิ่ง เพราะแอสไพรินจะขัดขวางการขับกรดยูริกของร่างกาย จึงยิ่งทําให้อาการปวดหนักขึ้น ให้เลือกเป็นไอบูโพรเฟน จะพอช่วยได้ เพราะช่วยลดอักสบได้โดยไม่ทําให้อาการแย่ลง แต่สิ่งสําคัญคือ ต้องดื่มน้ํามากๆ เพื่อช่วยละลายกรดยูริกในร่างกาย
สาเหตุและอาการของโรคเก๊าท์
ตามปกติตับจะผลิตกรดยูริกออกมาแล้วจะกําจัดออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายมีกรดยูริกสะสมอยู่มากเกินไป จะเกิดก้อนผลึกคม ๆ ในไขข้อ คุณจะรู้สึกเหมือนมีเศษแก้วแตกบดเบียดอยู่ในข้อ เรียกอาการข้ออักเสบนี้ว่า “เก๊าท์” เก๊าท์มักเกิดกับชายอายุเกิน 40 ปี (ต้องใช้เวลาหลายปี กว่าที่ผลึกกรดยูริกจะเกิดการสะสม) ส่วนใหญ่แล้ว เกาต์จะเกิดกับข้อหัวแม่เท้า แต่ก็เกิดได้กับข้อมือ หัวเข่า ข้อศอก และข้อบริเวณอื่นได้ นอกจากจะเจ็บปวดแล้ว เกาต์ยังทําให้ข้อบวมอีกด้วย
เวลาปวดเก๊าท์แล้ว มีวิธีอะไรช่วยได้บ้างไหม
วันนี้ ป่วยให้น้อย.com ก็ได้รวบรวมวิธีการบรรเทาอาการปวดเวลาต้องเผชิญหน้ากับเก๊าท์ มาให้เพื่อน ๆ ได้นำไปรับมือกับโรคเก๊าท์ ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเองหรือคนใกล้ตัวก็ตาม จะมีวิธีไหนน่าสนใจบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
1. เอนหลังและประคบน้ำแข็ง
– เมื่อโรคเก๊าท์กําเริบ ควรพยายามนอนลง และยกข้อที่ปวดให้สูงขึ้น เรื่องนี้อาจไม่เป็นปัญหา เพราะเมื่ออาการเก๊าท์กําเริบคุณอาจยกผ้าสักผืนไม่ขึ้นเลยด้วยซ้ํา
– ถ้าพอทนได้ ให้ประคบน้ําแข็งสัก 20 นาที ความเย็นจะทําให้ชาบริเวณที่ปวด และลดบวมด้วย ใช้ผ้าห่อน้ําแข็งไว้เพื่อปกป้องผิวหนัง ประคบเย็นวันละ 3 ครั้ง ทําติดต่อกัน 2-3 วัน
2. กินเชอร์รี่
– เชื่อกันว่าผลเชอร์รี่มีสรรพคุณรักษาเก๊าท์ได้ เชอร์รี่มีสารที่ช่วยทําให้กรดยูริกในเลือดมีสภาพเป็นกลาง และยังมีสารต้านอักเสบ ทั้งเชอร์รีสดและแห้ง ให้ผลลัพธ์เท่าๆ กัน เมื่อรู้สึกว่าอาการกําลังจะกําเริบ ให้กินเชอร์รีสัก 1-2 กํามือ ถ้าไม่มีผลสด ก็กินเชอร์รีกระป๋องแทน มีการศึกษาบ่งชี้ว่า การกินเชอร์รี 20 ลูกจะลดปวดได้เท่ากับยาแอสไพริน 1 เม็ด
– ถ้าไม่ชอบเชอร์รี่ ผลไม้ในตระกูลเดียวกันอย่างสตรอเบอร์รี่และราสเบอร์รีก็ให้ผลคล้ายกัน แต่ต้องกินในปริมาณที่มากกว่าเชอร์รี่
3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรักษาเก๊าท์
– กินน้ำมันปลาหรือน้ำมันปอ (flaxseed oil) เป็นประจําทุกวัน น้ํามันทั้งสองชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านอักเสบ โดยให้กินน้ำมันปอวันละ 1-3 กรัม (น้ํามันปอ 1 กรัมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) ควรใช้ในรูปน้ํามันแทนที่จะกินแบบแคปซูล เพราะคุณต้องใช้มากกว่า 12 แคปซูลจึงจะได้น้ํามันปอ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนน้ํามันปลานั้นควรกินให้ได้ 6,000 มก. ต่อวัน โดยจะใช้แบบแคปซูลหรือน้ํามันก็ได้ (ระวัง ถ้ากินในปริมาณมาก ควรเลือกน้ํามันปลา ไม่ใช่น้ํามันตับปลาหรือน้ํามันตับปลาคอด ซึ่งแม้จะมีสารต้านอักเสบปริมาณที่พอดี แต่จะมีวิตามินเอและวิตามินดีมากเกินไป)
– เอนไซม์โบรมีเลน (bromelain) ในสับปะรดก็ลดอักเสบได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะต้องมีโบรมีเลนอย่างน้อย 2,000 เอ็มซียูต่อกรัม ดังนั้นต้องอ่านฉลากให้ดีก่อนซื้อ ขนาดที่ใช้บรรเทาอาการปวดเก๊าท์ได้คือ 500 มก. วันละ 3 ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร
– เซเลอรีสดหรือสารสกัดเมล็ดเซเลอรีชนิดเม็ด จะช่วยลดกรดยูริกได้ ปริมาณที่แนะนําคือวันละ 2-4 เม็ด
– ใบเนตเทิลเป็นยารักษาข้ออักเสบที่ชาวตะวันตกใช้กันมานาน โดยจะช่วยลดกรดยูริก ปัจจุบันมีการผลิตในรูปสารสกัดโดยทําให้แห้งด้วยความเย็น ขนาดที่ใช้คือ วันละ 300-600 มก. แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 3 เดือนในแต่ละครั้ง (ระวัง อย่าใช้ชนิดทิงเจอร์ เพราะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งทําให้เก๊าท์กําเริบ) เนตเทิลสามารถใช้ทาภายนอกได้ด้วย โดยแช่ผ้าสะอาดในน้ําต้มใบเนตเทิลแล้วนํามาปิดทับข้อที่ปวด
4 ดื่มน้ำให้มากขึ้น และงดดื่มเบียร์
– ดื่มน้ํามากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ขนาด 250 มล.) จะช่วยกําจัดกรดยูริกส่วนเกินออกจากร่างกาย นอกจากนี้น้ํายังลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต ซึ่งจะยิ่งทําให้อาการเก๊าท์กําเริบหนักขึ้น
– ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะดูเหมือนแอลกอฮอล์จะทําให้ร่างกายผลิตกรดยูริกมากขึ้นและขัดขวางการขจัดกรดยูริก โดยเฉพาะเบียร์ซึ่งมีสารพิวรีนมากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น
5 ตรวจสอบยาที่กิน
– สําหรับผู้ที่ต้องกินยาขับปัสสาวะเป็นประจํา เช่น ผู้เป็นความดันเลือดสูง ควรปรึกษาแพทย์ดูว่าสามารถใช้ยาอื่นแทนได้หรือไม่ เพราะยาขับปัสสาวะ จะขจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย ทําให้ปริมาณกรดยูริกที่ผ่านเข้าไปในปัสสาวะลดลงด้วย จึงเหลือกรดยูริกตกค้างอยู่ในร่างกายมากขึ้น และทําให้คนที่เป็นโรคเก๊าท์อาการแย่ลง
– บางครั้งเก๊าท์ถูกกระตุ้นด้วยกรดไนอะซินหรือกรดนิโคตินิก ซึ่งแพทย์อาจสั่งให้กับผู้ที่คอเลสเตอรอลสูง ถ้าคุณกินยานี้อยู่ ลองปรึกษาแพทย์ว่าใช้ยาอื่นแทนได้หรือไม่
6 อย่าอดอาหาร
– การลดน้ําหนักช่วยป้องกันโรคเก๊าท์ได้ก็จริง แต่การลดน้ําหนักแบบเร่งด่วน หรือการอดอาหารกลับเป็นผลเสีย เพราะเมื่อคุณอดอาหาร เซลล์ต่างๆ ในร่างกายจะปล่อยกรดยูริกออกมามากขึ้น คนที่น้ําหนักเกิน ควรลดน้ําหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป คือควรลดไม่เกิน 1 กก. ต่อสัปดาห์
อาหารที่ต้องหลีกให้ห่างเมื่อเจอเก๊าท์เล่นงาน
อาหารโปรตีนสูงและอาหารที่มีสารพิวรีนจะเพิ่มกรดยูริกในร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์จึงต้องเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลาบางชนิด เช่น ปลาแอนโชวี ปลา ซาร์ดีน และปลาเฮร์ริง รวมทั้งกะปิและน้ําพริกกะปิด้วย นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารทอด คาร์โบไฮเดรตขัดขาว (เช่น แป้งขัดขาว) ข้าวโอ๊ต อาหารที่มียีสต์เป็นส่วนผสม เช่น เบียร์และเบเกอรี่ทั้งหลาย ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วแระ ผัก โขม และดอกกะหล่ํา
Tip:: ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเหล่านี้
ถ้าคุณเริ่มมีอาการบวมและเจ็บตามข้อ ให้รีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นเก๊าท์หรือข้ออักเสบ แพทย์อาจใช้เข็ม ขนาดเล็กดูดของเหลวจากข้อมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ดูว่ามีผลึกกรดยูริกหรือไม่ แม้จะมียารักษาโรคเก๊าท์อยู่ แต่ก่อนจะกินยา คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากําลังใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดอยู่บ้าง เพราะยาหรือสารเสริมอาหารบางอย่างอาจยิ่งทําให้อาการกําเริบได้