วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ คืออะไร?

ข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดรุนแรง ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทําลายเนื้อเยื่อตนเอง นอกจากจะมีอาการข้ออักเสบ ปวดและบวมแล้ว โรคนี้ยังทําให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เลือดไหลเวียนไม่ดี โลหิตจาง และอาการทางตา

หากตื่นเช้ามาคุณพบว่ากำมือไม่ได้ หรือลุกเดินไม่ไหว รู้สึกว่าข้อแข็ง ไม่สามารถขยับได้ แถมมีอาการปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย อาจสันนิษฐานเบื้องต้นก่อนว่าเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ คุณควรลองไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเหล่านี้ดู

ปวดข้อเข่า02


แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดคุณได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จริง ๆ ล่ะก็ นอกจากการทานยาตามที่คุณหมอสั่งแล้ว คุณก็ยังสามารถดูแลตัวเองด้วยวิธีต่อไปนี้ร่วมกันไปด้วย เพื่อให้การรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ผลดี และมีโอกาสหายเร็วขึ้นด้วย


6 วิธีรับมือ เมื่อเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

1. บันทึกรายการอาหารทุกชนิดที่กินตลอดวัน

รูมาตอยด์-002

การบันทึกอาหารที่กินในแต่ละวันนั้น จะช่วยให้เราได้ทราบว่าอาหารชนิดใดทําให้อาการกําเริบ อาหารบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ตระกูลส้มและมะนาว ไข่ และมะเขือเทศ อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบในร่างกายยิ่งขึ้นจนผิดปกติ

2. อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์

งานวิจัยพบว่ากรดแกมมาลิโนเลนิกหรือจีแอลเอ (gamma-linolenic: GLA) บรรเทาอาการ อักเสบและปวดจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาหารที่มีสารนี้คือ น้ํามันบอเรจ (borage seed oil) น้ํามันแบล็กเคอแรนต์ (blackcurrant oil) และน้ํามันอีฟนิ่งพริมโรส การศึกษาล่าสุดพบว่า เสริมกรดแกมมาลิโนเลนิกอย่างน้อยวันละ 1.4 กรัม จะได้ผลสูงสุด แต่ผลิตภัณฑ์ที่ขายทั่วไปแนะนําให้กินไม่เกินวันละ 0.24 กรัม ดังนั้นหากจะกินวันละ 1.4 กรัม ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

3. อดอาหารช่วงเวลาสั้น ๆ 

แพทย์บางคนเชื่อว่าการอดอาหารช่วงสั้น ๆ (1-2 วัน) ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การอดอาหารทําให้ระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทํางานเกินปกติต้องหยุดพัก อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนทดลองใช้วิธีนี้ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกินยาเป็นประจํา

4. กินอาหารมังสวิรัติ

รูมาตอยด์-001

การเปลี่ยนมากินอาหารมังสวิรัติ โดยไม่กินเนื้อสัตว์เลยนั้น จากการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ใช้ระยะเวลา 1 ปีพบว่า เมื่อกินอาหารมังสวิรัติร่วมกับงดอาหารจําพวกไข่ กลูเตน (โปรตีนชนิดหนึ่งในข้าวสาลี) คาเฟอีน แอลกอฮอล์ เกลือ น้ําตาลฟอกขาว และนม ช่วยลดอาการปวดบวมข้อได้หลังจากเริ่มกินไปเพียง 1 เดือน และหลังจากนั้น 1-3 เดือน ก็ยังสามารถกินนมได้โดยไม่มีผลข้างเคียง

5. สังกะสี เป็นแร่ธาตุสำคัญของคนเป็นรูมาตอยด์

กินแร่ธาตุสังกะสีเป็นสารเสริมอาหาร จากการศึกษาระยะยาวกับผู้หญิงเกือบ 30,000 คน พบว่าสังกะสีช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยควรกินพร้อมอาหารวันละไม่เกิน 15 มก. เพราะหากกินมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

6. ประคบร้อนช่วยบรรเทาอาการปวด

การประคบบริเวณที่ปวดด้วยความร้อน จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ส่วนหนึ่ง โดยอาจหาซื้อถุงน้ําร้อน หรือนำผ้าสะอาดไปชุบน้ำร้อน นำมาประคบบริเวณข้อที่รู้สึกปวดราว 20 นาที หรือถ้าอยากให้ร้อนนานขึ้น อาจจะนำผ้าสะอาดใส่ชามเติมน้ำ แล้วนำเข้าไมโครเวฟสัก 1-2 นาที ก็จะสะดวกขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังอาจใช้ยาทาสูตรร้อนต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ด้วย อย่างในประเทศไทยเอง ก็สามารถหาซื้อพวกยาหม่องเขียว รวมถึงครีมร้อนได้ง่ายมากด้วย


  Tips   

ผู้สูงอายุหลาย ๆ คน มักจะมีอาการปวดเข่า อันเกิดจากเข่าเสื่อมอยู่แล้ว แต่ว่าสิ่งที่จะลืมนึกถึงไม่ได้เลย ก็คืออาการปวดเข่าที่มาจาก ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้น ง่ายกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามากนัก ดังนั้นแล้วจึงควรปรึกษาเหมาะด้านโรคข้ออักเสบเพิ่มเติมด้วย


 

error: Content is protected !!