ทำอย่างไร เมื่อหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

“อยู่ ๆ ก็รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็วเกินไป”

ตลอดเวลา 1 ปีหัวใจของเราเต้นเกือบ 36 ล้านครั้ง เป็นจังหวะสม่ําเสมอ ไม่เคยขาดตกบกพร่อง ด้วยเหตุนี้เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง ย่อมทําให้เรารู้สึกหวั่นวิตกได้พอดู โชคดีที่หัวใจมีระบบป้องกันอย่างดี จึงสามารถควบคุมอาการเต้นผิดจังหวะได้ในทันที อย่างไรก็ตามคุณควรป้องกันภาวะนี้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การฝึกเทคนิคคลายเครียด ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่กินเป็นประจํา และกินอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ

อาการของโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หัวใจของเราเต้นเป็นจังหวะปกติเพราะมีสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นสม่ําเสมอ ถ้าเกิดความผิดปกติในกลไกนี้ หัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติ แม้บางครั้งอาการนี้จะเป็นสัญญาณของความผิดปกติร้ายแรงที่หัวใจ แต่ส่วนใหญ่ มักเกิดจากความอ่อนเพลีย ความกังวล หรือเครียด แม้ภาวะนี้จะทําให้คุณกังวล แต่ไม่จําเป็นต้องรักษาด้วยยา


 Tips:   รู้หรือไม่ ?

มีความเชื่อที่ว่า ถ้ากินของหวานลดลง จะป้องกันอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้ ซึ่งเป็นความจริง เนื่องจากว่าอาหารชนิดใดก็ตามที่ทําให้ระดับน้ําตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถ้าคุณชอบกินของหวานและมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ควรลดของหวาน ไม่แน่ อาการหัวใจเต้นผิดปกติของคุณอาจจะดีขึ้นแบบง่าย ๆ เลยก็ได้


ควรทำอย่างไรเมื่อหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

  1. ทันทีที่คุณรู้สึกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ให้รีบนั่งลงและหาที่พิงหลัง หายใจลึกๆ ช้าๆ ให้ท้องขยายออกขณะหายใจเข้า เพ่งสมาธิกับการหายใจช้าๆ อย่างสม่ําเสมอ หัวใจของคุณจะกลับมาเต้นสม่ําเสมอเช่นเดิมในที่สุด
  2. หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ใช้วิธีวัลซัลวา (Valsalva manoeuvre) โดยเอามือบีบจมูก หุบปากไว้ และพยายามเบ่งลมหายใจออก เมื่อลมหายใจออกจากร่างกายไม่ได้ คุณอาจรู้สึกอึดอัดคล้ายกับขณะปวดอุจจาระ และความดันเลือดจะสูงขึ้นชั่วขณะ ทําให้หัวใจปรับจังหวะการเต้นใหม่
  3. ไอแรงๆ วิธีนี้จะทําให้ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับวิธีวัลซัลวา โดยช่วยให้หัวใจปรับจังหวะการเต้นใหม่ การออกแรงเป่าลูกโป่งก็ได้ผลเช่นเดียวกัน นักร้องมืออาชีพบางคนแนะนําให้เป่าลูกโป่งเพื่อควบคุมอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรืออาการใจสั่นเพราะตื่นเวที

6 วิธีการดูแลตัวเองเพื่อบำบัดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ


#1. บําบัดด้วยความเย็น

น้ำเย็น

  • ดื่มน้ําเย็นสัก 2-3 อีก แม้ยังไม่ทราบชัดว่าวิธีนี้ได้ผลอย่างไร แต่บางคนใช้ได้ผลชนิดทันตาเห็น มีทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ขณะที่เรากลืนน้ําลงไปนั้น หลอดอาหารจะกดหัวใจเบาๆ และกระตุ้นให้ปรับจังหวะการเต้นใหม่
  • การล้างหน้าด้วยน้ําผสมน้ําเข็ง ความเย็นจัดสามารถกระตุ้นให้หัวใจปรับจังหวะใหม่ได้

#2. กินและดื่มอย่างพอประมาณ

  • กินปลาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็กเคอเรล ปลาซาร์ดีน และปลาทูน่า ปลาเหล่านี้มีกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อหัวใจ
  • อย่ากินอาหารจนเกินอิ่ม เพราะเลือดในร่างกายจะไหลเวียนจากหัวใจไปที่ทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น และอาจทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และบุหรี่ เครื่องดื่มคาเฟอื่น เช่น กาแฟ ชา หรือโคล่า อาจทําให้บางคนมีอาการหัวใจสั่น การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากเกินไป (รวมถึงแผ่นนิโคตินเพื่ออดบุหรี่) มักทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางครั้งช็อกโกแลตก็ทําให้หัวใจสั่นเช่นกัน

#3. คลายเครียดและนอนหลับให้เพียงพอ

นอนหลับให้เพียงพอ

  • บ่อยครั้งที่อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมีสาเหตุมาจากความเครียด ที่จริ มันเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของร่างกายที่บ่งบอกว่าคุณมีความเครียดสูงเกินระดับอันตราย ดังนั้นคุณควรหาวิธีคลายเครียด เช่น การฝึกสมาธิ และควรหาเวลาผ่อนคลายจิตใจอย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • การบําบัดด้วยน้ํามันหอมระเหยช่วยให้ใจสงบ หยดน้ํามันลาเวนเดอร์ลงบนผ้าเช็ดหน้า 2-3 หยดเพื่อสูดดมกลิ่นหอม
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยคืนละ 7 ชั่วโมง ความอ่อนเพลียเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพออาจกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดปกติ

#4. การออกกำลังกายช่วยได้แน่นอน

ตะคริว-001

  • ออกกําลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดิน วิ่ง หรือเล่นเทนนิสอย่างน้อย ครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ขณะออกกําลังกายอย่าวิตกกังวลกับการแข่งขันหรือเอาชนะผู้อื่น เพราะอาจทําให้ยิ่งเครียด ควรควบคุมจังหวะการออกกําลังกายให้สามารถพูดคุยไปด้วยอย่างสบายๆ ไม่เหนื่อยจนเกินไป
  • อบอุ่นร่างกาย 10 นาทีก่อนออกกําลังกาย และยืดกล้ามเนื้ออีก 10 นาที หลังออกกําลังกายเสร็จแล้ว

#5. ควบคุมจังหวะหัวใจด้วยการเพิ่มแมกนีเซียม

ซึมเศร้า-002

  • เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติหลายคนมีแมกนีเซียมในเลือดต่ํา ดังนั้นจึงควรกินอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเพิ่มขึ้น เช่น ธัญพืชไม่ขัดขาว ถั่วชนิดต่างๆ ผักใบเขียว และหอย หรือกินแมกนีเซียมชนิดเม็ดวันละ 300 มก. (ระวัง ผู้ป่วยโรคไตห้ามกินแม็กนีเซียม)
  • กินโคเอนไซม์ 90 (Coenzyme 9) สารธรรมชาติชนิดนี้ช่วยให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ มีขายในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดเม็ดในร้านขายยาบางแห่งหรือร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ วิธีใช้คือกินขนาด 50 มก. วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร โดยอาจต้องกินอย่างน้อย 2 เดือนจึงเริ่มเห็นผล
  • ถ้าคุณไม่ชอบกินปลา ควรกินน้ํามันปลาวันละ 2-3 กรัม เพื่อช่วยเพิ่มกรดไขมันโอเมกา-3 ให้แก่ร่างกาย
  • กรดอะมิโนทอรีน (taurine) จะช่วยรักษาสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ กินวันละ 2 กรัม หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือร้านอาหารสุขภาพทั่วไป

#6. ใส่ใจเรื่องยาให้มาก

  • ก่อนใช้ยาทุกชนิดควรอ่านฉลากให้ละเอียด ยาหลายชนิดอาจทําให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ซึ่งมักมีคําเตือนว่า “ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้หากคุณเป็นโรคหัวใจหรือความดันเลือดสูง” หรือมีคําเตือนพิเศษเกี่ยวกับผลของยาต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ เมื่อซื้อยารักษาหวัดหรือยาแก้แพ้กินเอง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ยาลดอาการคัดจมูก เช่น ซูโดเอฟีดรีน (pseudoechedrine) มักทําให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ยาขยายหลอดลมที่ใช้รักษาโรคหอบหืดบางชนิด เช่น เทอร์บูทาลีน Cerbutaline) หรือยายี่ห้อบริคานิล (Bricanyl) และยาต้านฮิสตามีน เช่น ลอราทาดีน (loratadine) หรือยี่ห้อคลาริทีน (Clarityn) อาจทําให้หัวใจ เต้นเร็วผิดปกติ หากคุณมีอาการขณะกินยาเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเอฟีดรา (ephedra) หรือ เรียกอีกอย่างว่ามาฮวง (mg-huang) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สําหรับลดน้ําหนัก ซึ่งกระตุ้นการใช้พลังงาน แต่อาจทําให้เกิดอาการหัวใจสั่นหรือเต้นผิดจังหวะ บางครั้งอาจเป็นอันตรายได้

 


  Warning   เมื่อไรที่คุณควรไปพบแพทย์

โดยทั่วไปอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติไม่จําเป็นต้องพบแพทย์ เว้นแต่คุณเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือมีอาการ บ่อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะด้วย หากหัวใจเต้นผิดปกติบ่อย ๆ ร่วมกับอาการต่อมไทรอยด์ทํางานมากผิดปกติ เช่น น้ําหนักลด อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ควรพบแพทย์ ถ้าเป็นลมหมดสติหรือรู้สึกแน่นหน้าอก คลื่นไส้ และ เหงื่อออก ให้รีบเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะอาจเป็นภาวะหัวใจวายได้


 

 

error: Content is protected !!